วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2553

การเขียนรายงาน

การเขียนรายงาน

สาระสำคัญ

การ เขียรรายงานเป็นวิธีการเสนอผลการค้นคว้าอย่างมีระบบและเป็นแบบแผน เพื่อให้ ผู้อื่นได้รับทราบผู้เขียนรายงานต้องรู้จักรูปแบบและวิธีการ ตลอดจนการ เลือกใช้ภาษาให้เหมาะสม จึงจะสามารถเขียนรายงานได้ถูกต้อง และสามารถ สื่อสารได้ตรงตามจุดประสงค์

พิจารณาหัวข้อ

จุดเริ่มต้นในการเขียนก็คือ ชื่อเรื่องหรือหัวข้อ การพิจารณาหัวข้อหรือชื่อเรื่องจะนำไปสู่การเขียนที่ดีเนื้อหาสอดคล้องกับชื่อเรื่องอย่างตรงเป้า หัวข้อเรื่องแต่ละหัวข้อ ต้องการเน้นที่แตกต่างกัน

การรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการเขียน

สิ่งที่จะช่วยได้มากในการเขียนคือการรวบรวมข้อมูล การเตรียมรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการเขียนเป็นงานที่ยากและกินเวลามากที่สุดในการเขียนรายงาน แม้ว่าเราจะมีความรู้เกี่ยวกับหัวข้อที่จะเขียนดีเพียงไร เราก็ยังต้องใช้ความคิดอย่างมากว่าเราจะจัดการกับหัวข้อนี้อย่างไรดี จะใส่เนื้อหาอะไรเข้าไปบ้าง จะตัดอะไรออก ความคิดไหนที่ควรติดตาม ทฤษฏีไหนที่มีค่าควรแก่การพัฒนาขยายความ เนื่องจากความยากลำบากอันนี้ จึงไม่เป็นการฉลาดที่เราจะพยายามคิดออกมาให้ได้ในขั้นรวบรวามข้อมูลนี้ จะเป็นการดีกว่าถ้าเราจะใช้เวลาตรึกตรองเตรียมตัวสัก ๒-๓ ชั่วโมง แล้วก็ปล่อยทิ้งไว้สักวันสองวัน ระหว่างนั้นสมองเราจะยังคงย้อนกลับมาคิดถึงหัวข้อนี้อยู่ และเราอาจจะค่อยๆ ได้ความคิดใหม่ๆ เพิ่มขึ้น

การวางเค้าโครงเรื่อง

การวางเค้าโครงเรื่องขึ้นอยู่กับการรวบรวมข้อมูลของเราในระดับหนึ่ง ขณะที่เราอ่านข้อมูลเพื่อเตรียมตัวเขียนเราก็จะเริ่มมองเห็นเค้าโครงเรื่องพร้อมกันไปด้วย แต่เราควรอ่านข้อมูลจนเรารู้สึกว่า เราได้ข้อมูลที่ต้องการมากพอแล้วเสียก่อนถึงเริ่มลงมือเขียนเค้าโครงเรื่องอย่างจริงจัง

เค้าโครงเรื่องก็คล้ายๆ กับการวางหัวข้อย่อยของเรื่อง แต่ละหัวข้อย่อยอาจจะมีประเด็นหนึ่งหรือสองประเด็น หัวข้อของเค้าโครงเรื่องไม่ควรมีอะไรมากไปกว่าการครอบคลุมประเด็นที่เราต้องการจะเขียน หลักการวางเค้าโครงเรื่องอันดับแรกคือ ควรจะเรียงลำดับกันอย่างเป็นเหตุเป็นผล และสามารถทำให้ผู้อ่านเข้าใจอย่างต่อเนื่องตามลำดับ

ในการเรียงลำดับเรื่อง เราควรคำนึงถึงความสนใจของผู้อ่านด้วย นักข่าวหนังสือพิมพ์มักคำนึงถึงความสนใจของผู้อ่านมากเสียจนกระทั่ง เขามักจะเขียนความคิดสำคัญๆ ไว้ตั้งแต่ประโยคแรกๆ ของข่าว อันเป็นการดึงความสนใจของนักอ่าน

ในขั้นตอนการวางเค้าโครงเรื่องนี้เราจะต้องใช้วิจารณญาณในการเลือกให้มากที่สุด หัวข้อที่เราใช้จะเป็นตัวกำหนดเนื้อหาเรื่องที่เราจะเขียน ครอบคลุมถึงรายละเอียดต่างๆ ทฤษฏีที่เราจะนำมาพิจารณา และตัวอย่างที่เราจะยกมา ศิลปะในการที่จะนำเสนอขึ้นอยู่กับกระบวนการเลือกนี้อยู่มากทีเดียว

การที่จะวางเค้าโครงเรื่องให้เสร็จภายใน ๒-๓ ชั่วโมง ก็เป็นเรื่องยากเช่นเดียวกัน เป็นการดีที่จะร่างเค้าโครงเรื่องไว้แล้วปล่อยทิ้งไว้สักวันสองวันก่อนที่จะกลับมาเขียนต่อ พร้อมกับความคิดใหม่ๆ ถึงขั้นนี้เราก็สามารถเขียนเค้าโครงเรื่องครั้งสุดท้ายได้ ซึ่งเมื่อเริ่มเขียนจริงๆ แล้ว เราก็อาจเพียงแต่ปรับปรุงแก้ไขเท่าที่จำเป็น

การเขียน

เวลาเราเขียนเรามักกังวลเกี่ยวกับท่วงทำนองการเขียน (Style) ท่วงทำนองการเขียนที่ดีคือ การเขียนสิ่งที่เราต้องการบอกกล่าวอย่างชัดเจนและกระชับ หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาที่โอ่อ่า เล่นสำบัดสำนวน ประโยคที่ยาวหรือสลับซับซ้อนเกิดความจำเป็น สำนวนที่เป็นภาษาพูดแบบขาดๆ วิ่นๆ หรือแบบตลาดๆ

การที่เราจะปรับปรุงท่วงทำนองการเขียนของเรา ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการอ่านตำราการเขียนหรือการทำแบบฝึกหัดมากนัก ที่สำคัญขึ้นอยู่กับการอ่านหนังสืออย่างกว้างขวาง เวลาอ่านหนังสือให้คอยสังเกตว่า ผู้เขียนสามารถเขียนด้วยถ้อยคำ สำนวน เหตุผล ที่น่าเชื่อถือเพียงใด โดยทั่วไปแล้วท่วงทำนองที่เรียบง่ายเป็นกุญแจไปสู่ความชัดเจน แต่ในการเขียนบทความทางวิชาการสังคมศาสตร์ บางครั้งการใช้สำนวนที่มีลักษณะเฉพาะเพื่อให้สื่อความหมายได้กระชับ อาจเป็นสิ่งจำเป็น

ย่อหน้า

การเขียนที่ดีต้องมีย่อหน้า ไม่ใช่เขียนติดกันไปทั้งหน้ากระดาษโดยไม่มีย่อหน้า โดยทั่วไปแล้วย่อหน้าแต่ละย่อหน้าจะมีความคิดหรือการบอกเล่าเรื่องราวเพียงประเด็นใดประเด็นหนึ่ง เราเรียงลำดับ ย่อหน้า เพื่อให้เนื้อความต่อเนื่องกันอย่างเป็นเหตุเป็นผล ทำนองเดียวกับเราเรียงลำดับเค้าโครงเรื่อง ถ้าเรากลับไปอ่านต้นฉบับที่เราเขียน และไม่เข้าใจว่าบางย่อหน้าเสนอแนวคิดหรือบอกเล่าอะไร เราอาจจะขีดฆ่าย่อหน้านั้นทิ้งทั้งย่อหน้าก็ได้ เพราะถ้าหากเราเองยังไม่เข้าใจว่า ย่อหน้านั้นเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับย่อหน้าอื่นอย่างไรแล้ว คนอื่นที่จะมาอ่านเรื่องของเรายิ่งไม่มีทางเข้าใจใหญ่

การแบ่งย่อหน้าโดยทั่วไปแล้วขึ้นอยู่กับท่วงทำนองการเขียน และจุดมุ่งหมายของผู้เขียนแต่ละคน ตัวอย่างเช่นบทความขนาดสั้นที่ตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์รายวัน ผู้เขียนต้องการเขียนย่อหน้าสันๆ เพื่อช่วยให้ผู้อ่านข้อความแต่ละย่อหน้าได้รวดเร็ว หรือบางครั้งผู้เขียนก็จงใจย่อหน้าใหม่ เพื่อที่จะเน้นข้อความบางตอน ทำให้บทความลักษณะนี้มีการแบ่งย่อหน้าสั้นๆ จำนวนมาก

ตารางและภาพประกอบ

ตารางหรือภาพประกอบสามารถช่วยอธิบายเรื่องได้ดีขึ้น ตัวอย่างการเขียนบทความด้านสังคมศาสตร์อาจต้องการใช้สถิติที่เป็นตารางเป็นกราฟหรือเป็นรูปแท่งแผนที่ บทความที่เกี่ยวกับเคมีต้องการใช้สูตร สมการ รูปภาพเครื่องมือ เป็นต้น

อ่านทบทวน

ขึ้นสุดท้ายของการเขียนก็คือ อ่านทบทวนสิ่งที่เราเขียนนั้น พิจารณาดูว่า มีข้อความที่เขียนวกไปวนมาโดยไม่จำเป็นหรือไม่ การเรียงลำดับเรื่องมีจุดอ่อนหรือไม่ ลืมกล่าวหรือข้ามอะไรไปบ้างหรือไม่ การทิ้งสิ่งที่เราเขียนไว้สักพักหรือวันสองวัน แล้วมาอ่านทวนเหมือนกับว่าเราอ่านเรื่องของคนอื่น จะทำให้เรามองเห็นจุดที่ควรแก้ไขได้ดีขึ้น

กล่าวโดยสรุป ศิลปะในการเขียนที่ดีก็คือศิลปะแห่งการขยันอ่าน ขยันสังเกตพิจารณาไตร่ตรอง และขยันหัดเขียน

ตรวจสอบ

เมื่ออ่านมาถึงจุดนี้ เราควรจะพบว่าเราได้

๑) ฝึกการพิจารณาหัวข้อ เพื่อดูหัวข้อแต่ละหัวข้อต้องการอะไร

๒) ฝึกการเขียนเค้าโครงเรื่อง

๓) ได้ข้อสรุปของเราเองว่า ท่วงทำนองในการเขียนที่ดีความจะเป็นอย่างไร

๔) ฝึกหัดการแบ่งย่อหน้า

๕) พิจารณาถึงการใช้แผนภูมิหรือภาพที่เหมาะสมกับเรื่องแต่ละเรื่อง

รูปแบบรายงาน

รายงานทางวิชาการประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้

๑. ส่วนประกอบตอนต้นหรือส่วนนอกมี

๑.๑ ปกนอก บอกชื่อเรื่อง ชื่อผู้ทำรายงาน ชื่อรายวิชา ชั้นเรียน โรงเรียน ภาคเรียน ปีการศึกษา

๑.๒ ใบรองปก เป็นกระดาษเปล่า แผ่น

๑.๓ ปกใน มีข้อความเช่นเดียวกับปกนอก

๑.๔ คำนำ เป็นข้อความเกริ่นทั่วไปเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาของรายงานแจ่มแจ้งขึ้น อาจกล่าวถึงความเป็นมาของการสำรวจและรวบรวมข้อมูลและขอบคุณผู้ให้ความช่วยเหลือ

๑.๕ สารบัญ เป็นการเรียงลำดับหัวข้อของเนื้อเรื่อง ถ้าเป็นเรื่องยาว บอกเลขหน้าของหัวข้อไว้

๒. ส่วนเนื้อเรื่อง ประกอบด้วย

๒.๑ บทนำ เป็นส่วนที่บอกเหตุผลและความมุ่งหมายที่ทำรายงาน ขอบเขตของเรื่อง วิธีการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล

๒.๒ เนื้อหา ถ้าเป็นเรื่องยาว ควรแบ่งออกเป็นบทๆ ถ้าเป็นรายงานสั้นๆ ไม่ต้องแบ่งเป็นบท แบ่งเป็นหัวข้อต่อเนื่องกันไป

๒.๓ สรุป เป็นตอนสรุป ผลการศึกษาค้นคว้าและเสนอแนะประเด็นที่ควรศึกษาค้นคว้าต่อไป

๓. ส่วนประกอบตอนท้าย ประกอบด้วย

๓.๑ ภาคผนวก เป็นข้อมูลที่มิใช่เนื้อหาโดยตรง เช่น ข้อความ ภาพ สถิติ ตาราง ช่วยเสริมรายละเอียดเพิ่มเติมแก่เนื้อหา

๓.๒ บรรณานุกรม คือ ราชชื่อหนังสือ เอกสารหรือแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่ใช้ในการทำงาน โดยเรียงลำดับตามพยัญชนะตัวแรกของชื่อผู้แต่งหรือแหล่งข้อมูล ชื่อหนังสือ ครั้งที่พิมพ์ จังหวัดหรือเมืองที่พิมพ์ สำนักพิมพ์และปีที่พิมพ์ ถ้ามีข้อมูลทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ให้ขึ้นต้นด้วยข้อมูลที่เป็นภาษาไทยก่อน



วิธีเขียนบทความ

ความหมายของบทความ

บทความ คือ ความเรียงที่เขียนขึ้นโดยมีหลักฐานข้อเท็จจริง และในเนื้อหานั้น ผู้เขียนได้แทรกข้อเสนอแนะเชิงวิจารณ์ หรือสร้างสรรค์เอาไว้ด้วย

ลักษณะเฉพาะของบทความ

๑. ต้องเป็นเรื่องที่ผู้อ่านส่วนมากกำลังสนใจอยู่ในขณะนั้น อาจเป็นปัญหาที่คนกำลังอยากรู้ว่าจะดำเนินต่อไปอย่างไร หรือมีผลอย่างไร หรือเป็นเรื่องที่เข้ายุคเข้าสมัย
๒. ต้องมีแก่นสาร มีสาระ อ่านแล้งได้ความรู้ หรือความคิดเพิ่มเติม มิใช่เรื่องเลื่อนลอยไร้สาระ
๓. ต้องมีข้อทรรศนะ ข้อคิดเห็น ตลอดจนข้อเสนอแนะของผู้เขียนแทรกด้วย
๔. มีวิธีเขียนชวนให้อ่าน อ่านแล้วท้าทายความคิด และสนุกเพลิดเพลิน จากความคิดในเชิงถกเถียงโต้แย้งนั้น
๕. เนื้อหาสาระและสำนวนภาษาเหมาะสมสำหรับผู้อ่านที่มีการศึกษาอยู่ในเกณฑ์ดี เพราะผู้อ่านที่มีการศึกษาน้อยนิยมอ่านข่าวสดมากกว่าบทความ

ลักษณะที่แตกต่างและเหมือนกันของบทความ เรียงความ และข่าว

๑. รูปแบบ เรียงความและบทความมีรูปหรือแบบของการเขียนเหมือนกัน คือ มีโครงเรื่องอันประกอบด้วยสามส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ คำนำ เนื่องเรื่อง และสรุป หรือคำลงท้าย การตั้งชื่อเรื่องหรือหัวเรื่องอาจเหมือนหรือคล้ายคลึงกัน ส่วนข่าวเป็นการเสนอเรื่องรวมหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง สาระสำคัญของข่าวอยู่ที่ความนำอันเป็นย่อหน้าแรกของการเขียนข่าว ส่วนย่อหน้าต่อ ๆ มา มีความสำคัญลดหลั่นกันลงมาตามลำดับ จนกระทั่งถึงย่อหน้าสุดท้ายอาจตัดทิ้งไปได้ โดยไม่เสียความถ้าเนื้อที่กระดาษจำกัด

๒. ความมุ่งหมาย บทความนั้นเขียนขึ้นเพื่อเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับ เรื่องหรือ เหตุการณ์นั้นๆ ส่วนเรียงความเป็นการเขียนเพื่อ แสดงความรู้เกี่ยวกับหัวข้อเรื่องนั้นแต่เพียงเรื่องเดียว

๓. เนื้อเรื่อง หัวข้อเรื่องของบทความต้องทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ อยู่ในความสนใจของผู้อ่านขณะนั้น เวลาผ่านไปเพียงสัปดาห์หนึ่ง หรือมากกว่านั้น ก็อาจล้าสมัยไป ส่วนเรียงความจะหยิบยกเอาเรื่องใด ๆ ทั้งที่เป็นรูปธรรม และนามธรรมเขียนก็ได้ และหัวข้อเรื่องเดียวกันนี้จะเขียนเมื่อไหร่ก็ได้ ไม่ถือว่าล้าสมัย แต่ข่าวมีอายุอยู่ ๒๔ ชั่วโมงเท่านั้น ถ้าเสนอข่าวช้าไปสักวันหรือสองวันก็ไม่น่าสนใจเสียแล้ว

๔. วิธีเขียน วิธีเขียนเรียงความนั้นใคร ๆ ก็รู้จักวิธีเขียนและเขียนได้ ส่วนมากเป็นการเขียนแบบเรียบๆ ไม่โลดโผน แต่บทความจะต้องมีวิธีเขียนอันชวนให้อ่าน ให้ติดตามเนื้อเรื่อง การเขียนข่าวต้องตอบปัญหา ๕ ข้อ คือ ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ และทำไม ต้องเสนอข่าวเท่าที่เกิดขึ้นจริง เขียนอย่างสั้นและตรงไปตรงมา ไม่มีข้อคิดเห็นของผู้เขียน ไม่มีแม้แต่ชื่อผู้เขียนข่าว ต้องเป็นข่าวสดจริงๆ เป็นการเขียนเพื่อให้ชนทุกชั้นอ่าน และไม่แสดงอารมณ์ ความรู้สึกของผู้เขียน ผู้อ่านจะไม่รู้เลยว่าผู้เขียนเป็นบุคคลชนิดใด รู้สึกนึกคิดอย่างไร


ประเภทของบทความ

บทความแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ๒ ประเภท คือ บทความเชิงสาระ (Formal Essay) และบทความเชิงปกิณกะ (Informal Essay) บทความเชิงสาระ จะเน้นหนักไปทาง วิชาการ ผู้เขียนต้องการอธิบายความรู้อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นสำคัญ ไม่คำนึงถึงการใช้สำนวนโวหาร หรือความเพลิดเพลินของผู้อ่าน เพราะถือว่าผู้อ่านต้องการปัญญาความคิดกับผู้อ่านบ้าง แต่ต้องถือว่าเป็นความมุ่งหมายรอง เพราะผู้อ่านบทความเชิงปกิณกะพร้อม ๆ กับใช้ความรู้สึกสนุกสนาน เพลิดเพลินแก่ผู้อ่านด้วย
เนื่องจากบทความ เป็นการเขียนที่ยังนับว่าใหม่ วิธีเขียนก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ บทความสมัยนี้ค่อนข้างจะมีลักษณะผสมผสานกันทั้งเชิงสาระและปกิณกะ ถ้าจะแบ่งตามเนื้อเรื่องของบทความแล้ว ยังแบ่งออกไปได้หลายประเภท ดังนี้

๑. บทความแสดงความคิดเห็น เป็นบทความที่ผู้เขียนหยิบยกเอาปัญหาในสังคมนั้นขึ้นมาเขียน เช่น ปัญหาของส่วนรวม ได้แก่ ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง การศึกษา การคมนาคม การโจรกรรม ฯลฯ และปัญหาส่วนบุคคล ได้แก่ การป้องกัน อาชญากรรม การรักษาความปลอดภัยให้ตนเอง การประกันชีวิต ฯลฯ บางครั้งผู้เขียนอาจจะเขียนโต้ตอบบทความที่ผู้อื่นเขียนขึ้นเพื่อแสดงความคิดในแนวหนึ่งแนวใด ปัญหาที่มีข้อขัดแย้งนี้ มักจะมีข้อคิดแตกต่างกันไปเป็นสองแนว คือ ความคิดในแนวยอมรับ และโต้แย้ง ผู้เขียนอาจจะเลือกแสดงความคิดเห็นแนวใดแนวหนึ่งก็ได้ หรือแสดงความคิดเห็นของคนทั่วไปในทุก ๆ ด้านก็ได้ เพื่อปล่อยให้ผู้อ่านพิจารณาตัดสินเอาเอง
วิธีเขียนบทความแสดงความคิดเห็นนี้ ผู้เขียนต้องเริ่มต้นด้วยการแยกแยะปัญหาให้กระจ่างชัด เสียก่อนว่า คืออะไร วิธีแก้ปัญหามีอย่างไร ผู้เขียนเห็นชอบด้วยวิธีไหน เหตุที่ชอบ และไม่ชอบด้วย และควรย้ำความคิดเห็นของตนให้เห็นอย่างเด่นชัดอีกครั้งในตอนท้าย

๒. บทความประเภทสัมภาษณ์ เป็นบทความที่แสดงความคิดเห็นของบุคคล เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ ผู้เขียนบทความ ควรรู้จัก เลือกบุคคลที่จะสัมภาษณ์
วิธีเขียนบทความนี้ ควรมีเทคนิคการเขียนที่ช่วยให้ผู้อ่านมีความสนใจที่จะติดตามเรื่องโดยตลอด ดังนั้นผู้เขียนจึงไม่ควรเขียนเฉพาะเจาะจงตรงที่ถ้อยคำเป็นคำถามและคำตอบเท่านั้น แต่อาจแทรกสิ่งอื่น ๆ ลงไปด้วย

๓. บทความประเภทกึ่งชีวประวัติ มีลักษณะคล้ายกับบทความประเภทสัมภาษณ์ต่างกันในแง่ที่บทความประเภทสัมภาษณ์ ต้องการแสดงข้อคิดเห็นของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ส่วนบทความเชิงชีวประวัตินั้น ต้องการแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับตัวบุคคลที่ให้สัมภาษณ์ แต่ไม่ได้เน้นที่อัตชีวประวัติ กลับไปเน้นที่ความสามารถและคุณสมบัติพิเศษที่ทำให้เขาประสบความสำเร็จยิ่งใหญ่กว่าบุคคลทั่วไป เขามีวิธีการในการดำรงชีวิต ตลอดจนการปฏิบัติตนอย่างไร เรื่องชีวประวัติเป็นสิ่งสำคัญรองลงมา ข้อมูลที่เก็บมาเขียนนั้นอาจจะได้จาก การสัมภาษณ์บุคคลนั้นเองแล้ว อาจได้มาจากการสอบถามบุคคลแวดล้อม ซึ่งมีทั้งญาติมิตร และศัตรู ตลอดจนเอกสารและผลงานต่างๆ ที่เขาเคยสร้างสมไว้ เราจะไม่พูดถึงเรื่องราวส่วนตัวมากเกินไป เพราะไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นการเขียนชีวประวัติบุคคลสำคัญ

๔. บทความประเภทคำแนะนำ เป็นบทความที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือ อธิบายวิธีการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในการเขียนควรเลือกเรื่องที่ดึงดูดความสนใจ และผู้อ่านสามารถทำความเข้าใจ ตลอดจนปฏิบัติตามได้ไม่ยาก หัวข้อที่จะเลือกมาเขียนมีกว้าง เช่น เรื่องเกี่ยวกับปัจจัย เป็นต้นว่า
-
วิธีประดิษฐ์ของใช้ต่างๆ ส่วนมากทำจากวัสดุที่หาง่าย ราคาย่อมเยา หรือของที่ไม่ใช้แล้ว เช่น วิธีทำพรมเช็ดเท้าจากเศษผ้า ทำดอกไม้ปักแจกันจากรังไหม
-
วิธีตัดเย็บเสื้อผ้า สำหรับคนในครอบครัวเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย
-
วิธีปรุงอาหาร
-
วิธีรักษาทรวดทรง
-
วิธีเลี้ยงเด็ก
-
วิธีเย็บปักถักร้อย
และอื่นๆ
วิธีเขียนบทความประเภทนี้ควรจะยึดหลักในการให้คำแนะนำว่า สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อย ยิ่งประหยัดได้เท่าไหร่ยิ่งดี ไม่ต้องใช้ฝีมือสูง เป็นของที่คนส่วนมากทำได้ และทำได้สะดวกไม่เสียเวลาในการทำสิ่งเหล่านั้นมากจนเกินไป ควรบอกเคล็ดลับในการทำให้ผู้อ่านปฏิบัติตามได้ง่าย และทำได้ผลจริง ๆ นอกจากนี้ควรระวังลีลาการเขียน ถ้าเขียนแบบจริงจัง มีแต่เนื้อหาอันเป็นหลักวิชาความรู้ ก็จะกลายเป็นตำราในแนววิชานั้นๆ

๕. บทความประเภทให้แง่คิด โน้มน้าวใจหรือกระตุ้นให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้เขียนอาจเขียนอย่างตรงไปตรงมา หรือเขียนในเชิงอุปมาอุปไมยก็ได้ การเขียนเชิงอุปมาอุปไมยนั้นจะเขียนถึงสิ่งอื่นผูกเป็นเรื่องราวต่อเนื่องกันโดยตลอด ข้อความทั้งเรื่องจะแทนความคิดที่ต้องการให้ผู้อื่นทราบ เช่น กล่าวถึงสัตว์ฝูงหนึ่ง แต่เดิมเคยอยู่เป็นสุขรักใคร่สามัคคีกัน ต่อมาเกิดทะเลาะวิวาทกันแยกตัวไปอยู่ที่อื่นเป็นจำนวนมาก ไม่ช้านักสัตว์ฝูงนั้นก็ถูกสัตว์ฝูงอื่นรักแก ล้มตายหมดสิ้น เรื่องทั้งหมดนี้เป็นการแทนความคิดของผู้เขียนที่จะใช้ชี้ให้เห็นโทษของการแตกความสามัคคี เรื่องที่นำมาเขียนอาจเป็นการให้แง่คิดทั่วไป เช่น การประหยัด การทำตนเป็นพลเมืองดี ความรักชาติ ฯลฯ

๖. บทความประเภทท่องเที่ยวเดินทาง สมัยนี้การท่องเที่ยวชมภูมิประเทศหรือสถานที่แปลกๆ ใหม่ ๆ มีผู้นิยมกันมากขึ้นทั้งในและนอกประเทศ เป็นการเปิดหูเปิดตา เป็นการทัศนศึกษาไปในตัว บทความประเภทนี้จึงเกิดขึ้นมีจุดมุ่งหมาย ชี้ชวน แนะนำ หรือกระตุ้นเตือนให้ผู้อื่นเกิดความรู้สึกอยากจะไปพบเห็นด้วยตนเอง สถานที่ใดที่แปลกใหม่ที่คนยังไม่กล้าที่จะไปเที่ยว ดังนั้นบทความแบบนี้จะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ที่รักการทัศนาจร
วิธีเขียนบทความนี้ผู้เขียนควรจะมีประสบการณ์ด้วยตนเองมาก่อน และได้เดินทางไปจนถึงสถานที่นั้นๆ ได้สังเกต จดจำสิ่งต่างๆ มาเป็นอย่างดี แล้วถ่ายทอดประสบการณ์นั้นๆ ออกมาเป็นตัวหนังสือ นอกจากจะบอกข้อเท็จจริงต่างๆ แล้ว ข้อสังเกต คำแนะนำ เกร็ดเล็กๆ น้อยๆ คำเตือนใจหรือข้อระวังในการปฏิบัติตนระหว่างเดินทางที่ผู้เขียนเคยได้ประสบหรือผิดพลาด จะช่วยให้เรื่องน่าอ่านยิ่งขึ้น

๗. บทความประเภทวิชาการ เป็นบทความที่ผู้เขียนประสงค์จะให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งทางวิชาการ เช่น วิทยาศาสตร์ ปรัชญา จิตวิทยา รัฐศาสตร์ เป็นต้น

๘. บทความประเภทครบรอบปี บทความประเภทนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับเหตุการณ์ พิธีการ เทศกาล หรือวันสำคัญที่ประชาชนสนใจ เมื่อโอกาสหรือเรื่องราวเหล่านั้นเวียนมาบรรจบครบรอบ เช่น
มกราคม มีเรื่องราวเกี่ยวกับ วันขึ้นปีใหม่ วันครู วันเด็ก
กุมภาพันธ์ " วันมาฆบูชา
เมษายน วันจักรี วันอนามัยโลก วันสงกรานต์
พฤษภาคม วันพืชมงคล วันฉัตรมงคล
กรกฎาคม วันเข้าพรรษา วันอาสาฬหบูชา
สิงหาคม วันเฉลิมพระชนมพรรษา
กันยายน เทศกาลสารทไทย
ตุลาคม การทอดกฐิน วันปิยมหาราช
พฤศจิกายน เทศกาลลอยกระทง วันสาธารณสุข
ธันวาคม วันเฉลิมพระชนมพรรษา
วันรัฐธรรมนูญ วันสิ้นปี

๙. บทความประเภทวิจารณ์ ผู้เขียนจะต้องพิจารณาข้อเท็จจริง ลักษณะและคุณสมบัติต่างๆ ของเรื่องที่จะวิจารณ์อย่างถี่ถ้วน โดยอาศัยหลักวิชา เหตุผลหรือข้อเท็จจริงตัดสินว่าดีหรือไม่ดี ควรหรือไม่ควรอย่างไร บทความประเภทวิจารณ์นี้ แบ่งย่อยได้เป็น ๓ ประเภท คือ

ก. บทความวิจารณ์หนังสือ ผู้เขียนจะต้องมีความรู้กว้างขวางในวิชาการหลายแขนง เพื่อเป็นแนวในการพิจารณาคุณค่าของหนังสือเรื่องนั้น ผู้เขียนจะวิจารณ์โดยใช้ความรู้สึกส่วนตัวไม่ได้ ต้องอาศัยหลักวิชา หยิบยกประเด็นต่างๆ ของหนังสือมากล่าวว่าดีหรือไม่ดี เหมาะสมหรือไม่อย่างไร เช่น การวิจารณ์นวนิยายเรื่องหนึ่ง ประเด็นที่จะต้องพิจารณาคือ การใช้ภาษา เค้าโครงเรื่อง การจัดฉาก ลักษณะตัวละคร การวาดภาพตัวละคร ความสมจริงการดำเนินเรื่อง การคลี่คลายเรื่อง ผู้วิจารณ์ต้องกล่าวทั้งแง่ดีและแง่ไม่ดี ท้ายสุดผู้วิจารณ์ต้องสรุปข้อคิดเห็นของตนเองว่าหนังสือเรื่องนั้น มีคุณค่าควรแก่การอ่านหรือไม่ เพียงใด

ข. บทความวิจารณ์ข่าว มีมูลเหตโดยตรงมาจากข่าวและเป็นข่าวที่ก่อให้เกิดปัญหาขึ้นในกลุ่มชน อาจเป็นปัญหาส่วนรวมหรือส่วนบุคคลก็ได้ ผู้เขียนจะต้องศึกษาที่มาของข่าว ตลอดจนผลอันเกิดขึ้นเนื่องจากข่าวนั้น แล้วนำมาเขียนวิจารณ์แสดงข้อคิดเห็นของตน ว่าควรหรือไม่อย่างไร ตามเนื้อหาของข่าว และอาจแสดงข้อคิดเห็นเพิ่มเติมเป็นเชิงเสนอแนะด้วย

ค. บทความวิจารณ์การเมือง ผู้เชี่ยวชาญหยิบยกเอาเรื่องราวต่างๆ ทางการเมืองที่เป็นปัญหาขึ้นมากล่าวในเชิงวิพากษ์วิจารณ์ การกระทำใดๆ ก็ตามย่อมมีทั้งดีและเสีย ฉะนั้นผู้เขียนต้องคอยจับเอาเหตุการณ์ต่างๆ ที่มีผลดังกล่าวมาแยกแยะ แสดงความคิดเห็นและ อาจแนะแนวทางปฏิบัติ นอกเหนือจากที่ได้เป็นไปแล้ว ผู้เขียนบทความวิจารณ์การเมือง จะต้องเป็นผู้ติดตามข่าวคราวให้ทันเหตุการณ์ มีความรอบรู้ทั้งการเมืองภายใน และภายนอกประเทศ การเมืองในอดีตและปัจจุบัน ซึ่งจะช่วยทำนายเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้

วิธีหาเนื้อหา

ก่อนที่เขียนบทความ ผู้เขียนจำต้องสืบเสาะหาความรู้และเรื่องราวอันเป็นสาระมาเพื่อเป็นเนื้อหาแห่งการเขียน เพราะมิใช่เป็นการเขียนประเภทที่แต่ง หรือสมมติขึ้นเองได้ เราอาจหาเนื้อหาได้จากแหล่งต่างๆ ดังนี้

๑. จากการสัมภาษณ์ การซักถามสอบถามผู้รู้
๒. จากการสืบเสาะว่าที่ใดมีอะไรบ้าง ไปดูสถานที่ ไปพบบุคคล ไปดูเหตุการณ์การกระทำ
๓. จากข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์รายวัน ซึ่งเป็นข่าวสดใหม่ มีทุก ๆ ชนิดตั้งแต่ โจรกรรม ฆาตกรรม ฉ้อโกง การเมือง ตั้งแต่เรื่องใหญ่จนถึงเรื่องสามัญ นักเขียนบทความจะหยิบยกเรื่องจากข่าวสดมาเขียนได้เสมอ
๔. จากหนังสือต่างๆ
๕. จากบุคคลต่างๆ เริ่มจากบุคคลที่อยู่ใกล้ตัวเรา
๖. จากการเดินทางท่องเที่ยว
๗. จากปฏิทินในรอบปีซึ่งมีถึง ๑๒ เดือนนั้น มีเทศกาลมากมายหลายอย่าง ตั้งแต่พระราชพิธีจนถึงงานต่างๆ
๘. จากวงการและสถานบันต่างๆ

วิธีเขียนบทความ

การเขียนบทความให้ได้ดีนั้น ถ้าผู้เขียนรู้จักวางโครงเรื่องให้ดีก็จะช่วยการเขียนได้มาก เพราะโครงเรื่องจะช่วยควบคุมการเขียน ให้เป็นไปตามแนวคิดที่ กำหนดไว้ ทั้งยังเป็นการป้องกันมิให้เขียนวกวน ซ้ำกลับไปกลับมาอีกด้วย โครงเรื่องของบทความแบ่งเป็น ๓ ตอน คือ คำนำ เนื้อเรื่อง และสรุป

๑. คำนำ เป็นการเกริ่นบอกกล่าวให้รู้ว่าจะเขียนเรื่องอะไร การขึ้นคำนำมีอยู่ ๒ แบบ คือ การกล่าวทั่วไปก่อนที่จะวกเข้าเรื่องที่จะเขียน และการกล่าว เจาะจงลงไปตรงกับหัวเรื่องที่จะเขียนเลยทีเดียวการเขียนคำนำ ต้องให้น่าอ่านชวนติดตาม เพราะผู้อ่านนิยมอ่านย่อหน้าแรกก่อน ถ้าเขียนคำนำ ต้องให้น่าอ่านชวนติดตาม

๒. เนื้อเรื่อง แบ่งเป็น ๒ ตอน คือ ส่วนแรกเป็นการขยายความ เมื่อเกริ่นในคำนำแล้วผู้อ่านยังติดตามความคิดได้ไม่ดีพอ ก็ต้องขยายความออกไป เพื่อช่วยให้เข้าใจได้มากขึ้น ส่วนที่สองเป็นรายละเอียด มีการให้สถิติ รวบรวมข้อมูล การเปรียบเทียบหรือยกตัวอย่างประกอบ แต่ต้องระวัง อย่าให้มากเกินไปจนน่าเกลียด

๓. สรุป เป็นส่วนที่แสดงทัศนะข้อคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาที่มีด้วย


วิธีเขียนคำนำ

การเขียนคำนำเป็นตอนที่ยากที่สุด ถ้าเริ่มได้แล้วก็จะช่วยให้เรื่องดำเนินไป การเขียนคำนำจึงต้องการความประณีตมาก เพื่อเป็นเครื่องจูงใจผู้อ่าน ให้ติดตามเรื่องต่อไปจนจบ การเขียนคำนำมีหลายแบบดังนี้

๑. นำด้วยข่าว
๒. นำด้วยการอธิบาย
๓. นำด้วยการเสนอความคิดเห็น
๔. นำด้วยการใช้คำที่ทำให้ผู้อ่านเกิดความสนใจ
๕. นำด้วยการบอกความสำคัญ
๖. นำด้วยการประชดประชันหรือเสียดสี
๗. นำด้วยคำถาม
๘. นำด้วยการสรุปใจความสำคัญของเรื่อง
๙. นำด้วยสุภาษิต คำคม บทกวี

วิธีเขียนเนื้อเรื่อง

เนื้อเรื่องเป็นส่วนที่สำคัญและเป็นส่วนที่ยาวที่สุด รวมความคิดและข้อมูลทั้งหมด ย่อหน้าแต่ละย่อหน้าในเนื้อเรื่องจะต้องสัมพันธ์เป็นเรื่องเดียวกัน มีลำดับขั้นตอนไม่วกวนไปมา ก่อนที่จะเขียนบทความผู้เขียนจึงต้องหาข้อมูล หาความรู้ที่จะนำมาเขียนเสียก่อน การหาข้อมูลนั้นอาจได้จากการสัมภาษณ์ การสอบถามผู้รู้ การเดินทางท่องเที่ยว การอ่านหนังสื่อพิมพ์หรือหนังสื่อต่างๆ ในการเขียนเนื้อเรื่องควรคำนึงสิ่งต่างๆ ดังนี้

๑. ใช้ถ้อยคำที่ถูกต้องตามความหมาย ใช้ตัวสะกดถูกต้องตามพจนานุกรม

๒. ใช้สำนวนโวหารให้เหมาะกับเรื่อง เช่น ใช้ถ้อยคำที่เป็นทางการ ใช้ศัพท์เฉพาะในการเขียนบทความทางวิชาการ ใช้ถ้อยคำที่ดึงเป็นภาษาปาก คำแสลง ในการเขียนบทความทั่วไป

๓. มีข้อมูล เหตุผล สถิติและการอ้างอิงประกอบเรื่อง เพื่อให้เข้าใจง่ายและน่าเชื่อถือ


วิธีเขียนสรุป

การเขียนบทความในส่วนสรุปหรือคำลงท้าย เป็นส่วนที่ผู้เขียนต้องการบอกให้ผู้อื่นทราบว่า ข้อมูลทั้งหมดที่เสนอมาได้จบลงแล้ว ผู้เขียนควรมีกลวิธี ที่จะทำให้ผู้อ่าน พอใจ ประทับใจ ส่วนสรุปนี้เป็นส่วนที่ฝากความคิดและปัญหาไว้กับผู้อ่านหลังจากที่อ่านแล้ว การเขียนสรุปหรือคำลงท้ายมีหลายแบบดังนี้

๑. สรุปด้วยคำถามที่ชวนให้ผู้อื่นคิดหาคำตอบ
๒. สรุปด้วยการแสดงความประสงค์ของผู้เขียน
๓. สรุปด้วยใจความสำคัญ
๔. สรุปด้วยการใช้คำกล่าว คำคม บทกวี
๕. สรุปด้วยการเล่นคำ


การเขียนประวัติส่วนตัว ( RESUME )

การเขียนประวัติส่วนตัว ( RESUME ) มีส่วนประกอบที่สำคัญ 10 ประการ ดังนี้

1. ชื่อ/ที่อยู่/เบอร์โทรศัพท์ ( Name/Address/Telephone ) ควรวางไว้ให้เห็นได้ทันทีชิด

ซ้ายหรือชิดขวาก็ได้

  1. ชื่อของเรื่อง ( Title ) ควรใช้คำว่า RESUME และวางไว้เหนือชื่อและที่อยู่

3. ประวัติการทำงาน ( Working Experience ) : ระบุวันเดือนปี (เดือนปี) (Date Listing) เรียงลำดับ

ตามงานที่ทำอยู่ในปัจจุบันก่อน

4. ข้อมูลการทำงาน ( Job Data ) : การระบุตำแหน่งงาน(Position) และชื่อที่ทำงาน (Company Name) ตามวันเดือนปีที่ระบุ

  1. ลักษณะงาน ( Job Description ) : ระบุลักษณะงานตามตำแหน่ง

6. การศึกษา ( Education Record/Scholastic Record ) ระบุชื่อสถาบันที่ศึกษา วุฒิการศึกษาที่ได้รับ และ ปีที่สำเร็จการศึกษาหรือระยะเวลาที่ศึกษา

7. รายละเอียดส่วนตัว ( Personal Data ) ระบุสถานภาพ (Marital Status) [ โสด/สมรส หากสมรสมีบุตรกี่คน/หย่า], สุขภาพ, ส่วนสูง, น้ำหนัก

8. งานอื่น ( Service/Affiliation ) ระบุงานที่ทำให้กับสาขาของบริษัท งานที่ทำในต่างประเทศ

ในกรณีที่มีประวัติการทำงานน้อย หรือเพิ่งจบการศึกษา ควรระบุกิจกรรมพิเศษ

อื่น ๆ (Extracurricular Activities ) หรือประวัติการเข้าสัมมนา/ฝึกอบรม

Seminars/Training Programs Attended แทน

9. ความชำนาญพิเศษ ( Special Skills ) : ระบุความรู้ด้านคอมพิวเตอร์, ความชำนาญในการใช้
พิมพ์ดีด ( ภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ )

1. ประวัติส่วนตัว

ชื่อ (Name)…………………………………………………………………………………………………………………………………….

ที่อยู่ (Address)……………………………………………………………………………………………………………………………….

หมายเลขโทรศัพท์ (Telephone)………………………………………………………………………………………………………

ประวัติการทำงาน (Working Experience)…………………………………………………………………………………………..

วัน/เดือน/ปี ( Date Listing )…………………….. : ตำแหน่ง ( Position/Title)…………………………………………

: ชื่อบริษัท (Company Name)…………………………………….

: ลักษณะงาน (Job Description)………………………………..

ประวัติการศึกษา Education Record/Scholastic Record ( เริ่มต้นจากวุฒิการศึกษาสุดท้าย )

ปีพ.ศ. / ค.ศ......................................... : ชื่อสถาบัน..........................................................

: วุฒิการศึกษา.....................................................

: ผลการเรียนดีเด่นทางการศึกษา...........................

กิจกรรมพิเศษอื่น/งานอ่าน ( Extracurricular Activities/Service )

ปีพ.ศ. / ค.ศ......................................... : กิจกรรม/งานที่ทำ...............................................

: ลักษณะงาน.......................................................

การสัมมนา/ฝึกอบรม ( Seminars/Training Programs Attended )

ปีพ.ศ. / ค.ศ......................................... : ชื่อหลักสูตรที่ฝึกอบรม..........................................

: ผู้จัดฝึกอบรม.......................................................

ข้อมูลส่วนตัว ( Personal Data )………………………………………………………………………………………………………...

อายุ (Age)………………………………………………………………………………………………………………………….

สถานภาพสมรส (Marital Status)…………………………………………………………………………………………….

สุขภาพ ( Health)…………………………………………………………………………………………………………………

ส่วนสูง (Height) น้ำหนัก (Weight)……………………………………………………………………………………………

ความชำนาญพิเศษ ( Special Skills )

ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ ( โปรแกรมที่ใช้ )

ความชำนาญการใช้พิมพ์ดีด ภาษาไทย จำนวนคำ/นาที ภาษาอังกฤษ จำนวนคำ/นาที

2. แบบกำหนดลักษณะหน้าที่งาน

(JOB DESCRIPTION)

ชื่อ สกุล :

แผนก :

ฝ่าย :

กลุ่ม/สาย :

เลขประจำตัวพนักงาน : 0781

ชื่อบริษัท .................................

ตำแหน่ง :

PL :

JL :

หน้าที่หลัก (สรุปโดยย่อ)

งานที่ปฏิบัติ (แสดงถึงหน้าที่และความรับผิดชอบตามลำดับที่ได้มีการปฏิบัติจริง)

ร้อยละ

(%)

รวม

ผู้ใต้บังคับบัญชา (แสดงจำนวนและตำแหน่งของผู้ใต้บังคับบัญชาโดยตรง ควรระบุ PL/JL ด้วย หากพื้นที่ที่ให้ระบุไม่เพียงพอให้กำหนดโดยระบุไว้เป็นเอกสารแนบด้วย)

ผู้บังคับบัญชา (แสดงตำแหน่งผู้บังคับบัญชาและวิธีการบังคับบัญชาที่ได้รับ อาทิ รายงานผลงานหรือรับคำแนะนำเป็นครั้งคราว หรือ เป็นการประจำ / สม่ำเสมอ เป็นต้น)

คุณสมบัติ (แสดงถึงคุณสมบัติที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งนี้)

1. ระดับการศึกษา (วุฒิ/สาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง)

2. ประสบการณ์ (ควรผ่านงานประเภทใดและระยะเวลา (อายุงาน) เพียงใด)

3. คุณสมบัติอื่น ๆ

ลายเซ็นพนักงาน

(.............................................................................)

วันที่ ................../........................../......................

ลายเซ็นผู้บังคับบัญชาโดยตรง

(.............................................................................)

วันที่ ................../........................../......................

แบบบันทึกการปฏิบัติงานของนักศึกษา

(ระหว่างวันที่.................เดือน ................................... ถึงวันที่....................เดือน .................รวม..................วัน)

วัน / เดือน / ปี

รายงานการปฎิบัติงานประจำวัน

หมายเหตุ/ทักษะที่ใช้

......../.........../..........

......../.........../..........

ลงชื่อ........................................................................................ผู้รับรองการปฏิบัติงาน

4. วิเคราะห์งาน

4.1 ประวัติองค์กร

..........................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................

4.2 สรุปภาพรวมทั่วไปของการทำงาน..........................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................

4.3 วิเคราะห์ตำแหน่งงานที่ทำ (รูปแบบ/ลักษณะ/ปัญหา/ข้อดี/ข้อเสีย)

..........................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................

4.4 ทบทวนแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับปัญหา

..........................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................

4.5 อธิบายวิธีการแก้ไขและข้อเสนอแนะปรับปรุงงาน

..........................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................

5. สรุปและข้อเสนอแนะทั่วไป

..........................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................

บรรณานุกรม อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล

ภาคผนวก สำเนาบัตรพนักงาน หรือ หนังสือรับรองจากหน่วยงาน

เป็นต้น